วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563

3.4 พันธะโลหะ

 3.4 พันธะโลหะ

โลหะบางชนิดเส้นทองแดง เหล็กอะลูมิเนียมมีสมบัติบางประการคล้ายกับแสดงว่าสารเหล่านี้มีการยึดเหนี่ยวกันระหว่างอนุภาคที่เหมือนกันและอะตอมธาตุโลหะสร้างพันธะเคมีระหว่างกันอย่างไรเหมือนหรือต่างกัน จากพันธะไอออนิกและโคเวเลนต์หรือไม่
3.4.1 การเกิดพันธะโลหะ
จากที่ทราบแล้วว่าโลหะส่วนใหญ่มีสถานะเป็นของแข็งมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงผิวมันวาวสามารถนำไฟฟ้าและความร้อนได้ดีจะสมบัติดังกล่าวจะเห็นว่าโลหะมีสมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิกและมีสมบัติบางประการที่แตกต่างจากสารประกอบไอออนิกเช่นการนำไฟฟ้าและการนำความร้อนได้ดีในสถานะของแข็งผิวมันวาวและสมบัติส่วนใหญ่ต่างจากพันธะโคเวเลนต์ซึ่งแสดงว่าโลหะน่าจะยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะที่แตกต่างจากพันธะไอออนิกและพันธะโคเวเลนต์การที่อะตอมของโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันต่างการยึดเหนี่ยวระหว่างวาเลนอิเล็กตรอนกับโปรตอนในนิวเคลียสจึงน้อยให้เวเลนซ์อิเล็กตรอนของแต่ละอะตอมสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระไปทั่วทั้งชิ้นโลหะและเกิดการยึดเหนี่ยวกับโปรตอนในนิวเคลียสทุกทิศทุกทางการยึดเหนี่ยวนี้เรียกว่าพันธะโลหะการเกิดพันธะโลหะแสดงได้ด้วยแบบจำลองทะเลอิเล็กตรอน
3.4.2 สมบัติของโลหะ
1.โลหะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง
2.โลหะมีผิวมันวาวและสามารถสะท้อนแสงได้
3.โลหะนำไฟฟ้าและความร้อนได้ดี นอกจากนี้โลหะยังสามารถตีให้ออกเป็นแผ่นและดึงให้เป็นเส้นด้าย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

3.5 การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ

  3.5 การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ จากการที่สารประกอบไอออนิกสารโคเวเลนต์และโลหะมีสมบัติเฉพาะตัวมาว่าการที...